ราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ ทัพเรือภาคที่ 2 สงขลา ผนึกกำลังร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านวิชาการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561  ณ กองบัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 2 จังหวัดสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 หรือ Energy 4.0 ยกระดับประสิทธิภาพของระบบพลังงานในปัจจุบัน และนำนวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนา พร้อมกำหนดให้การประหยัดพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ โดยทัพเรือภาคที่ 2 มีผู้ลงนามประกอบด้วย พลเรือโท ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 พลเรือตรีมนตรี รอดวิเศษ และพลเรือตรีเสนิส ทังสุบุตร รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 พลเรือตรีสุรนันท์ แสงรัตนกูล เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 2 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีผู้ลงนามประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา พราหมณ์ชูเอม รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง นายเอกชัย เลาหะสราญ ที่ปรึกษาด้านพลังงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติกร ขันแกล้ว คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านวิชาการ ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นให้ทุกหน่วยงานราชการเป็นผู้นำในการลดใช้พลังงานทางด้านไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการนำร่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์ในหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายพร้อมแผนปฏิบัติการ เพื่อลดภาระงบประมาณค่าสาธารณูปโภคทุกประเภทของแต่ละหน่วยงาน โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและมีกรอบการดำเนินงาน ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนรายภาค กระจายตามพื้นที่ ที่มีการใช้ไฟฟ้า ตลอดจนเพื่อความมั่นคงและภัยพิบัติ อาทิ พื้นที่ของกองทัพ โรงพยาบาล และมหาวิทยาลัยฯ โดยมุ่งเน้นการจัดการพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอในทุกภูมิภาค และมุ่งเน้นศักยภาพของเชื้อเพลิงที่จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในแต่ละภูมิภาค การสนับสนุนการลงทุนเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านพลังงาน การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย การสนับสนุนเมืองอัจฉริยะหรือที่เรียกว่า Smart Cities- Clean Energy สำหรับการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 2,000-3,000 คนขึ้นไป สู่เมืองอัจฉริยะโดยการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่การเป็น Clean & Energy และ Green City การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มทางเลือกการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงและการสนับสนุนระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) อย่างเป็นรูปธรรมในการใช้เทคโนโลยีนี้ในระบบ

Date: 
Tuesday, August 14, 2018 - 02:45 to Friday, August 2, 2019 - 02:45